ประวัติศาลเจ้าพ่อขุนด่านนครนายก
ศาสเจ้าพ่อขุนด่าน ตั้งอยู่บนชะง่อนหินเขาชะโงก ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนเคารพนับถือ
ตามประวัติขุนด่านเป็นชื่อตำแหน่งนายด่าน ซึ่งขณะนั้นตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ เจ้าพ่อขุนด่านอยู่ในบริเวณเขาชะโงกจังหวัดนครนายก ตามประวัติเท่าที่สืบได้นั้น กล่าวว่า "ขุนด่าน" เป็นเพียงตำแหน่ง คือเป็นนายด่านขณะนั้น เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงกู้กรุงศรีอยุธยา กลับคืนมาจากพม่าได้แล้ว ( พ.ศ. ๒๑๒๗ ) อีก ๓ ปีต่อมา พ.ศ. ๒๑๓๐ พม่าก็ยกกองทัพเข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา เป็นศึกใหญ่เข้ามาถึงชานพระนคร คาดว่าศึกครั้งนี้กรุงศรีอยุธยา ต้องเสียแก่พม่าเพราะ พม่าตั้งล้อมกรุง เป็นเวลานาน สมเด็จพระนเรศวรก็ทรงทำแต่เพียง ออกปล้นค่ายพม่าแค่นั้น ในครั้งนี้นักพระสัตถา พระเจ้ากรุงละแวก เจ้าแผ่นดินเขมรก็ส่งกองทัพเข้ามาในปราจีนบุรี ทางปราจีนบุรีไม่มีกำลังต่อต้านจึงตกอยู่ในปกครองของเขมรโดยง่าย เขมรแบ่งกำลัง ส่วนหนึ่งไว้ที่ปราจีนบุรี ให้ทำหน้าที่กวาดต้อนผู้คนขนทรัพย์สมบัติ และก็เคลื่อนกองทัพส่วนใหญ่เข้ามา นครนายก ซึ่งขณะนั้น "ขุนด่าน" เป็นนายด่าน ซึ่งขุนด่านไม่ยอมให้กองทัพเขมรผ่านเข้ามาง่าย ๆ แม้จะมีกำลังน้อย ได้ต่อสู้จนเห็นว่าเหลือวิสัยที่จะต่อสู้ต่อไป จึงได้รวบรวมคนที่เหลืออยู่เข้ามาตั้งอยู่ทางเขาชะโงก กองทัพเขมรเข้าเมืองนครนายกได้ ยึดเมืองไว้แล้ว ก็ทำการกวาดต้อนผู้คน ขนทรัพย์สมบัติไปเช่นเดียวกับที่กระทำในปราจีนบุรี ในระหว่างนี้มีผู้คนหลบหนีออกไปจากเมือง ทำให้ขุนด่านได้ซ่องสุมชายฉกรรจ์ ส่วนผู้คนพลเมืองอื่น ๆ จัดให้ซุ่มซ่อนหลบภัยอยู่ซอกเขา ครั้นเมื่อพม่าไม่สามารถ จะตีกรุงศรีอยุธยาได้ต้องถอยกลับไปทางกรุงศรีอยุธยา จึงได้ส่งกองทัพไทยในความควบคุมของพระศรีไสยณรงค์ออกมารบเขมร ส่วนทางนครนายกขุนด่านก็นำกำลังเข้าโจมตีเขมร ในที่สุดเขมรก็ถอยไปจากนครนายกและปราจีนบุรี
เมื่อขุนด่านเสียชีวิตลงชาวจังหวัดนครนายกมีความเชื่อว่าท่านเป็นเทพารักษ์ที่มีผู้นับถือมากจึงตั้งศาลบริเวณเขาชะโงก ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารญี่ปุ่นไปตั้งค่ายอยู่ ได้ทำลายศาลทำให้ล้มตายโดยหาสาเหตุไม่ได้เป็นจำนวนมาก ผลงาน ขุนด่านเป็นผู้เสียสละป้องกันเมืองนครนายกไว้ นับเป็นวีรบุรุษของชาวจังหวันครนายก